
การดำเนินการตามนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยามีการดำเนินการตามนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคลในด้านต่าง ๆ อย่างครบถ้วนทุกมิติ ดังนี้
1. การวางแผนอัตรากำลังคน
คำอธิบาย : มหาวิทยาลัยมีแผนอัตรากำลังโดยมีการวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องและนำไปสู่การกำหนดจำนวน ประเภท และระดับตำแหน่ง ตลอดจนมีการติดตาม ประเมินผล และปรับปรุงแผนอัตรากำลังอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีฐานข้อมูลด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลมีความถูกต้อง พร้อมที่จะนำไปใช้ประโยชน์อยู่เสมอโดยมหาวิทยาลัยมีการทบทวนและปรับแผนอัตรากำลังคนทุก 4 ปี เพื่อให้มีความเป็นปัจจุบัน และสอดคล้องกับบริบทสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป
1.1 ข้อมูลกรอบอัตรากำลัง 🔗
1.2 รายงานการเกษียณอายุราชการของบุคลากร 🔗
1.3 สถิติของบุคลากร 🔗
1.4 ระบบแสดงข้อมูลบุคลากรผ่านอินเตอร์เน็ต (ระบบ ERP) 🔗
2. การสรรหา บรรจุ และแต่งตั้งบุคลากร
คำอธิบาย : มหาวิทยาลัยมีแผนการสรรหา บรรจุ และแต่งตั้งบุคลากรของหน่วยงาน โดยมีการจัดทำ แนวทางการดำเนินการสรรหา บรรจุ และแต่งตั้งบุคลากรของหน่วยงานที่เป็นไปตามกฎ ระเบียบ และข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง โดยคำนึงถึงความจำเป็นเร่งด่วนของความต้องการอัตรากำลัง โดยเฉพาะประเด็นการสรรหา บรรจุ และแต่งตั้งบุคลากรที่เป็นศักยภาพตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร และอยู่ภายใต้แผนกรอบอัตรากำลังที่กำหนดไว้
2.1 แผนการสรรหา บรรจุ และแต่งตั้งบุคลากรของหน่วยงาน 🔗
2.2 ประกาศรับสมัครพนักงานมหาวิทยาลัย , ประกาศผู้ผ่านการคัดเลือกและประกาศผู้บรรจุแต่งตั้ง ผ่านระบบออนไลน์
– เว็บไซต์รับสมัคร 🔗
– ข้อมูลการรับสมัคร 🔗
2.3 หลักเกณฑ์การบรรจุและแต่งตั้ง 🔗
3. การพัฒนาบุคลากร (การพัฒนาบุคลากร การสร้างทางก้าวหน้าในสายอาชีพ)
คำอธิบาย : มหาวิทยาลัยมีแผนการสร้างและพัฒนาผู้บริหารเพื่อสร้างความต่อเนื่องในการบริหารราชการ ตลอดจนมีการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการในการคัดเลือกบุคลากรสำหรับผู้บริหาร มีแผนบริหารจัดการบุคลากรที่มีทักษะ หรือสมรรถนะสูงเพื่อเตรียมและพัฒนาอย่างเป็นระบบ มีการจัดทำแผนพัฒนารายบุคคลตามแผนการสร้างและพัฒนาผู้บริหารเพื่อสร้างความต่อเนื่องในการบริหารราชการ การพัฒนาบุคลากรและการสร้างทางก้าวหน้าในสายอาชีพของบุคลากรแต่ละกลุ่มมีการดำเนินการดังนี้
3.1 โครงการส่งเสริมการพัฒนาผู้บริหาร
– โครงการสัมมนาทบทวนงานนโยบาย (Retreat) ประจำปี 2565 🔗
– โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการทบทวนยุทธศาสตร์และการจัดทำแผนปฏิบัติการเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Action Plan) มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 🔗
– โครงการส่งเสริมความรักความสามัคคีและวินัยของชาติ ประจำปี 2565 🔗
คำอธิบาย : โครงการเพื่อส่งเสริมการพัฒนาด้านการบริหารงานของผู้บริหารมหาวิทยาลัยให้เกิดการบูรณาการและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งยังมีการทบทวนแผนการดำเนินงานอยู่เสมอเพื่อขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยสู่ความเป็นเลิศในด้านต่างๆ ตามแผนยุทธศาสตร์และวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย
3.2 โครงการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการแก่คณาจารย์
– ระบบพี่เลี้ยงทางวิชาการ 🔗
– ช่องทางเผยแพร่ความรู้ในการจัดทำผลงานทางวิชาการ 🔗
– ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำผลงานทางวิชาการ 🔗
– โครงการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของคณาจารย์ กิจกรรม “โค้งสุดท้ายก่อนประกาศใช้เกณฑ์ใหม่เต็มรูปแบบ” 🔗
– การให้ทุนสนับสนุนการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น
ลิงก์เชื่อมโยง #1 🔗 | ลิงก์เชื่อมโยง #2 🔗
คำอธิบาย : มีการจัดโครงการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการแก่คณาจารย์ (โครงการพี่เลี้ยงทางวิชาการ) อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีผู้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการสูงขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงมีการจัดสรรทุนสนับสนุนการศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างทั่วถึง
3.3 โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรสายสนับสนุน
– ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการทำตำแหน่งสูงขึ้นของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน 🔗
– โครงการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 กิจกรรมที่ 1 การเขียนแบบประเมินผลสัมฤทธิ์ ความรู้ ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะ 🔗
– โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การจัดทำแผนบริหารและพัฒนาบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565-2568 🔗
– โครงการอบรม เรื่อง วินัยและการรักษาวินัยสำหรับบุคลากรภายในมหาวิทยาลัย ภายใต้โครงการพัฒนาสมรรถนะการให้บริการและระบบบริหารจัดการสำนักงานอธิการบดี กิจกรรมวินัยและการรักษาวินัยสำหรับบุคลากรในมหาวิทยาลัย 🔗
– โครงการพัฒนาทักษะการใช้ภาษาในการเขียนหนังสือราชการ 🔗
– โครงการพัฒนาทักษะการสื่อสารเพื่อการบริการอย่างใส่ใจ 🔗
– การให้ทุนสนับสนุนการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ลิงก์เชื่อมโยง #1 🔗 | ลิงก์เชื่อมโยง #2 🔗
คำอธิบาย : มีการจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อก้าวสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีบุคลากรสายสนับสนุนดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
4. การพัฒนาคุณภาพชีวิต
คำอธิบาย : มหาวิทยาลัยได้สร้างความสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัวให้มีความสุข โดยมีการสร้างสภาพแวดล้อม ระบบวิธีการทำงาน และบรรยากาศในการทำงานที่ดี เพื่อสนับสนุนให้ผู้ปฏิบัติงานทำงานได้เต็มศักยภาพและสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ตัวอย่างโครงการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการ ได้แก่
– งานสังสรรค์เนื่องในวาระโอกาสสำคัญ เช่น งานปีใหม่ งานแสดงมุทิตาจิตเนื่องในวาระการเกษียณอายุราชการ เป็นต้น
– การประชุมสัมมนาและศึกษาดูงานนอกสถานที่เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศและเปิดโลกทัศน์
– การจัดโครงการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
– การจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สถานที่ และสวัสดิการต่างๆ เช่น สระว่ายน้ำ สนามกีฬา โรงยิมเนเซียม ห้องฟิตเนส ห้องสมุด ห้องพิพิธภัณฑ์ ห้องอาหาร เป็นต้น
4.1 โครงการงานสังสรรค์เนื่องในวาระโอกาสสำคัญ เช่น งานปีใหม่ งานแสดงมุฑิตาจิตเนื่องในวาระการเกษียณอายุราชการ
– งานปีใหม่
– งานเกษียณอายุราชการ
4.2 โครงการประชุมสัมมนาและศึกษาดูงานนอกสถานที่ (ปีที่ผ่านมาไม่ได้จัดโครงการเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด19)
4.3 โครงการกีฬา ออกกำลังกาย สันทนาการต่างๆ (ปีที่ผ่านมาไม่ได้จัดโครงการเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด19)
4.4 ประมวลภาพบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สถานที่ สวัสดิการต่างๆ และการปรับปรุงภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อม เช่น (หน้าเว็บไซต์หลักกองอาคารและสถานที่ 🔗)
– จุดจอดรถจักรยานยนต์ในมหาวิทยาลัย 🔗
– ภูมิทัศน์ภายในมหาวิทยาลัย 🔗
– จุดจอดรถยนต์ในมหาวิทยาลัย 🔗
– งานสาธารณูปโภคภายในมหาวิทยาลัย 🔗
– การฉีดพ่นฆ่ายุงภายในมหาวิทยาลัย 🔗
– การปรับปรุงภูมิทัศน์ 🔗
4.5 การฉีดฆ่าเชื้อโควิด 19 เพื่อความปลอดภัยในชีวิตของบุคลากร
ลิงก์เชื่อมโยง #1 🔗 | ลิงก์เชื่อมโยง #2 🔗 | ลิงก์เชื่อมโยง #3 🔗 | ลิงก์เชื่อมโยง #4 🔗 | ลิงก์เชื่อมโยง #5 🔗
4.6 การฝึกซ้อมดับเพลิงและหนีไฟประจำปี
ลิงก์เชื่อมโยง #1 🔗 | ลิงก์เชื่อมโยง #2 🔗
5. การประเมินผลการปฏิบัติงาน
คำอธิบาย : มหาวิทยาลัยมีการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานที่ชัดเจน และผู้ปฏิบัติงานในองค์กรได้รับทราบโดยทั่วกัน รวมทั้งมีการดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการบริหารทรัพยากรบุคคลด้านต่าง ๆ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานที่มหาวิทยาลัยกำหนด สามารถวัดได้ทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ในลักษณะของการประเมินตนเอง (Self-Assessment) เทียบเคียงได้กับการรายงานการประเมินตนเองในระบบประกันคุณภาพการศึกษา
5.1 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติราชการ
– ข้าราชการฯ 🔗
– ลูกจ้างประจำ 🔗
– พนักงานมหาวิทยาลัย 🔗
– พนักงานราชการ 🔗
– ลูกจ้าง (เงินรายได้) 🔗
5.2 แบบประเมินผลการปฏิบัติราชการ/รายงานผลการปฏิบัติราชการ
– ข้าราชการฯ 🔗
– ลูกจ้างประจำ 🔗
– พนักงานมหาวิทยาลัย 🔗
– พนักงานราชการ 🔗
– ลูกจ้าง (เงินรายได้) 🔗
5.4 ระบบการประเมินบุคลากรโดยเพื่อนร่วมงาน (PA)
ลิงก์เชื่อมโยง #1 🔗 | ลิงก์เชื่อมโยง #2 🔗
6. การส่งเสริมจริยธรรมและคุณธรรมในองค์กร
คำอธิบาย : มหาวิทยาลัยมีมาตรการที่ส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรม และสร้างธรรมาภิบาลให้กับผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานไว้อย่างชัดเจน โดยการกำหนดไว้ในแผนยุทธศาสตร์ ด้านค่านิยมร่วม เพื่อความเป็น “บ้านแห่งความสำเร็จ บ้านสมเด็จเจ้าพระยา” คือ MORALITY ประกอบด้วย
M-Moral คุณธรรมประจำใจ
O-Orderliness วินัยประจำตน
R-Responsibility เปี่ยมล้นรับผิดชอบ
A-Adoration มอบใจให้องค์กร
L-Loveliness เอื้ออาทรแบ่งปัน
I-Innovation สร้างสรรค์ความรู้ใหม่
T-Teamwork ร่วมใจพัฒนา
Y-Yield นำพาสู่ความสำเร็จ
รวมทั้งออกข้อบังคับและประกาศต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อบังคับใช้กับบุคลากรของมหาวิทยาลัยทุกคน
6.1 ประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เรื่อง นโยบายคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 🔗
6.2 ข้อบังคับว่าด้วยจรรยาบรรณของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 🔗
6.3 ค่านิยมองค์กร MORALITY 🔗